วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

วันครู



ครู

ประวัติวันครู

คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ” คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำอบรมสั่งและสอน ศิษย์ นักเรียน หรือ นักศึกษา ให้เกิดความรู้ คิด อ่าน เขียน เพื่อให้เกิดประโยชน์มีอาชีพที่ดี รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

 
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งได้สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ในปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า”ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก และเพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงาน “วันครู” ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

ความหมายของดอกไม้ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการไหว้ครู



ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก

หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง

ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม

คำปฏิญาณ

ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม





กลอนวันครู

16 มกราวันนี้วันครู ท่านเป็นผู้ให้ความรู้ตลอดมา
ครูมีแต่ความหวังดีทุกเวลา ห่วงว่าศิษย์หลงทำผิดคิดพลาดไป
คอยอบรมสอนสั่งไม่ย่อท้อ ครูยังพอยิ้มได้และสุขใจ
เมื่อศิษย์ไปได้ดีดั่งหวังไว้ เหน็ดเหนื่อยเพียงไหนใจพร้อมสู้
ครูยืนอยู่เบื้องหลังเป็นกำลังใจ ความผิดใดที่ศิษย์ได้ทำไว้
โปรดขอครูนี้จงได้ให้อภัย ไม่ตั้งใจจริงๆสิ่งที่ทำไป
—————————————————-
ประนตน้อมพร้อมจิตลิขิตสาร ดำริกานท์ก้มเกศพิเศษหมาย
นบบูชาพระคุณครูมิรู้วาย ทั้งจิตกายตั้งมั่นกตัญญู
พระคุณที่สั่งสอนทั้งศาสตร์ศิลป์ ให้ศิษย์สิ้นสงสัยให้ความรู้
เกิดปัญญาก้าวหน้าเพราะคำครู ยังก้องอยู่โสตประสาทมิขาดไป
ตั้งแต่เรียนเขียน ก ทั้งนับเลข นิทานเสกสอนสั่งสร้างนิสัย
ขัดเกลาจิตศิษย์อยู่ให้รู้วัย ว่าสิ่งไหนนั้นควรไม่ควรทำ
ในวาระวันครู หนูจะเขียน ต่างแพเทียนธูปทองอันผ่องล้ำ
สร้อยอักษรล้วนจิตพินิจจำ กระแสน้ำพระคุณครูอยู่ชั่วกาล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น